ประวัติความเป็นมาของขนมบุหลันดั้นเมฆ
“บุหลันดั้นเมฆ” เป็นขนมที่มีที่มาจากในวัง
ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเพลง “บุหลันลอยเลื่อน” อันเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่
๒ รูปลักษณ์จะคล้ายคลึงกับขนมน้ำดอกไม้
หากแต่สีสันจะเลียนแบบดวงจันทร์ที่ลองอยู่ท่าม กลางท้องฟ้า
ตามเพลงพระราชนิพนธ์
ส่วนประกอบด้านนอกจะประกอบไปด้วยแป้งข้าวเจ้า แป้งมัน น้ำตาลทราย
และได้สีจากน้ำดอกอัญชัน ในส่วนไส้ตรงกลางจะใช้ไข่
กะทิ น้ำตาลมะพร้าวเป็นส่วนประกอบ สามารถให้เป็นของฝากผู้ใหญ่ หรือคนในครอบครัว
นับว่าเป็นเมนูขนมไทยแสนประณีตอีกหนึ่งชนิด
ส่วนผสมของขนมบุหลันดั้นเมฆ
อ้างอิง
• ดอกอัญชัน
• น้ำร้อน (สำหรับคั้นน้ำอัญชัน)
• กะทิ 120 กรัม
• แป้งข้าวเจ้า 10 กรัม
• เกลือ เล็กน้อย
• ไข่แดง 10 ฟอง
• น้ำตาลไอซิ่ง 60 กรัม
• กลิ่นวานิลลา เล็กน้อย
• แป้งข้าวเจ้า 100 กรัม
• แป้งเท้ายายม่อม 40 กรัม
• น้ำเปล่า
200 กรัม
• น้ำเชื่อม
350 กรัม (พักไว้จนเย็น)
• ถ้วยตะไล
(สำหรับนึ่งขนม)
ขั้นตอนและวิธีการทำ
1.คั้นดอกอัญชันกับน้ำร้อนให้ได้ปริมาณ 100 กรัม พักไว้
2.ผสมกะทิกับแป้งข้าวเจ้า 10 กรัมเข้าด้วยกัน แล้วนำไปเคี่ยวในกระทะให้พอข้นๆใส่เกลือลงไปเล็กน้อย พักไว้
3.ตีผสมไข่แดงกับน้ำตาลไอซฺ่งให้เข้ากัน ผสมกลิ่นวนิลาเล็กน้อย เพื่อดับกลิ่นคาวของไข่่
4.ผสมแป้งข้าวเจ้า 100 กรัมและแป้งเท้ายายม่อมให้เข้ากันอค่อยๆ เติมน้ำเปล่าลงไปผสม ทีละน้อยสลับกับการคน จนแป้งไม่ติดมือและมีลักษณะผิวเงาๆ
5.เติมน้ำเชื่อมและน้ำอัญชัน จากนั้นนำไปกรองแล้วพักไว้
6.นำถ้วยตะไลไปนึ่งให้ร้อน
• หยอดส่วนผสมแป้งลงไปจนเกือบเต็ม
ปิดฝานึ่งในน้ำเดือดประมาณ 2 -2.30 นาที ถ้าเกินกว่านั้น แป้งจะสุกเกิน
สังเกตุจากขอบขนมเริ่มมีสีเข้มขึ้นและตรงกลางมีสียังอ่อน ๆ เป็นใช้ได้
• จากนั้นให้รีบนำออกมาจากชุดนึ่งแล้วคว่ำถ้วยขนมลงชาม
แป้งที่ยังไม่สุกก็จะไหลออกมา ทำให้ขนมเป็นหลุมตรงกลางแบบนี้
↓↓
7.บีบหรือหยอดกะทิที่เคี่ยวไว้ลงไปในหลุม
นำไปนึ่งต่ออีก 1 นาทีก็ได้ หรือจะหยอดไข่แดงเลยก็ได้
จัดใส่จานให้สวยงาม พร้อมรับประทานเลย
https://www.youtube.com/watch?v=G7VG9vRZapc
https://cooking.kapook.com/view118740.html
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น