Smart Contact Lens คอนแทคเลนส์อัจฉริยะ สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน


Smart Contact Lens คอนแทคเลนส์อัจฉริยะ สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

ทราบหรือไม่..? ว่าโรคเบาหวานนั้นจะเกิดขึ้นกับทุกๆ 19 คนบนโลก และนั่นก็เป็นจำนวนไม่น้อยเลยล่ะ ซึ่งการรับประทานอาหารและคอยเจาะเลือดเพื่อวัดระดับน้ำตาลนั้นเป็นเรื่องที่ผู้ป่วยโรคนี้ต้องถูกดูแลอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยบางท่านไม่มีความจำเป็นที่ต้องเจาะเลือดด้วยตัวเองที่บ้านแต่ผู้ป่วยบางท่านมีความจำเป็นต้องเจาะเลือดที่บ้านวันละ 2-3 ครั้งสัปดาห์ละ 2-3 วันเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน ซึ่งการต้องคอยเจาะเลือดแบบนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่จะดีกว่าหรือไม่หากเรามีวิธีตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยวิธีอื่นโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย อย่างการใช้คอนแทคเลนส์วัดระดับน้ำตาลแทน
Wearable Project คือชื่อของโครงการล่าสุดที่สร้างความฮือฮาให้กับโลกของเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆโดย เป็นโครงการพัฒนาเกี่ยวกับการใช้งานระบบสมาร์ทโฟนผ่านเลนส์ชนิดต่างๆที่มองผ่านตา อย่างเช่นอุปกรณ์แว่นตาเป็นต้น และล่าสุดโปรเจกต์นี้ได้พัฒนานวัตกรรมใหม่ล่าสุดคือ สมาร์ทคอนเทคเลนส์ ซึ่งพัฒนาโดย บริษัท Google ทีกำลังอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีขยายเป้าหมายการตลาดในวงการแพทย์ คอนแทคเลนส์อัจฉริยะ หรือ Smart Contact Lens ตัวนี้จะสามารถช่วยผู้ป่วยเบาหวาน โดยมันสามารถวัดระดับน้าตาลในเลือด และแจ้งเตือนได้ถ้ามีระดับน้าตาลสูงเกินไป




Google Smart Contact Lens สามารถตรวจวัดระดับน้าตาลในเลือด โดย Google ได้รายงานออกมาว่าได้ทดลองเจ้าคอนแทคเลนส์เรียบร้อยแล้วผ่านตัวต้นแบบ ที่ใช้ชิพ Wireless และเซ็นเซอร์วัดระดับน้าตาลกลูโคสขนาดเล็กติดตั้งไว้ภายในตัว ซึ่งเจ้าชิพทั้งสองตัวจะติดตั้งซ้อนกันเป็นสองเลยเยอร์(สองชั้น)ภายในวัสดุของตัวคอนแทคเลนส์ และใช้วิธีตรวจวัดระดับน้าตาลในเลือด โดยใช้ของเหลวภายในร่างกาย และเซ็นเซอร์วัดระดับน้าตาลกลูโคสนั้นจะสามารถอ่านค่าได้หนึ่งครั้งต่อหนึ่งวินาที โดยมันจะสามารถทางานได้โดยการใช้หลอด LED ดวงเล็กๆ ขนาดเท่ากากเพชรติดตั้งลงไปด้วย และเมื่อมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดเกิน ตัวไฟ LED ก็จะเตือนโดยทาการกระพริบไฟนั่นเอง คอนแทคเลนส์อัจฉริยะของกูเกิล ถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถวัดระดับน้าตาลจากน้าตาได้อย่างต่อเนื่องโดยใช้ชิพไร้สายและเซนเซอร์วัดน้าตาลขนาดเล็ก เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าถูกรุกรานน้อยกว่าการเจาะเลือดจากปลายนิ้ว นอกจากนี้กูเกิลยังอ้างว่าด้วยวิธีนี้การทดสอบระดับน้าตาลในเลือดจึงสามารถทาได้บ่อยขึ้นและสามารถช่วยลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับความถี่ของการทดสอบ เช่น ไตวายและตาบอดได้อีกด้วย
คอนแทคเลนส์นี้ถูกพัฒนาโดยทีมนักวิจัยของกูเกิลมานานนับ 18 เดือน จากแนวคิดที่ว่าหากทาให้อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์เหล่านี้มีขนาดเล็กและบางกว่าเส้นผม อาจเป็นหนทางหนึ่งที่สามารถวัดระดับ น้าตาลกลูโคสในน้าตาได้ ในอดีตที่ผ่านมาการวัดระดับน้าตาลกลูโคสในน้าตาถือว่าเป็นไปได้ในทางทฤษฎีเท่านั้น ในขั้นตอนการประดิษฐ์ นักวิจัยได้ทาการฝังชิพและเซนเซอร์ขนาดเล็กไว้ในระหว่างชั้นทั้งสองของวัสดุที่ใช้ทาคอนแทคเลนส์แบบนิ่ม ซึ่งวัสดุที่ใช้ทาคอนแทคเลนส์นี้จะมีรูขนาดเล็กเท่ารูเข็มที่ของเหลวในตา หรือ น้าตาสามารถซึมผ่านเข้าไปสัมผัสกับเซนเซอร์ได้ นอกจากนี้ นักวิจัยยังสร้างระบบที่สามารถดึงพลังงานจากคลื่นความถี่วิทยุที่เข้ามา เพื่อให้อุปกรณ์มีพลังงานมากพอที่จะรวบรวมและส่งผ่านการอ่านระดับน้าตาลกลูโคสต่อหนึ่งวินาทีได้ และไม่ต้องห่วงว่าอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ฝังอยู่ในเลนส์นี้จะไปรบกวนวิสัยทัศน์ของการมองเห็นเนื่องจากตำแหน่งที่ติดตั้งอยู่ห่างจากตาดาและม่านตา
อ้างอิง
http://gadgeteer.webabcdd.com/300/smart-contact-lens/
https://www.dailygizmo.tv/2014/01/17/%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%83%E0%B8%99/

ความคิดเห็น