พระบรมราโชวาท
หนังสือวรรณคดีวิจักษ์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ให้วามหมายของคำว่า ราโชวาท ไว้ว่า น. คำสั่งสอนของพระราชา ใช้ว่า พระบรมราโชวาท
ประวัติผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(รัชกาลที่๕) จากเรื่องพระบรมราโชวาทกล่าวถึงนั้น
เป็นพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าจอมอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖
เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเมื่อ พ.ศ.
๒๔๑๑ และสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.
๒๔๕๓ รวมระยะเวลาที่ทรงครองราชย์ได้
๔๒ ว่าที่ร้อยตรี ณัฐวุฒิ
คล้ายสุวรรณ และวันเพ็ญ เหลืองอรุณ,๒๕๖๒ : ๒๖๗-๒๖๘ )
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงมีพระปรีชาสามารถในหลายด้าน เช่น
ในด้านการเมืองการปกครอง เมื่อพระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์นั้น
ประเทศไทยกำลังอยู่ในระหว่าสมัยเก่าและสมัยใหม่
การเมืองการปกครองยังไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยเหมาะสมกับยุคสมัย จึงได้ทรงพระราชดำริแก้ไขการปกครองใหม่
และมีการแยกงานออกเป็นกระทรวงต่างๆ ๑๒ กระทรวง
และได้จัดให้มีความเจริญในด้านต่างๆเกิดขึ้น เช่น การรถไฟ การไปรษณีย์โทรเลข การสุขาภิบาล
เป็นต้น และยังทรงเห็นว่าว่าการใดที่มีอยู่แล้วควรแก้ไขให้ดีขึ้น เช่น การศึกษา
การทหาร เป็นต้น และพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระองค์ที่ชาวไทยจดจำและติดตรึงใจก็คือ
การเลิกทาส ซึ่งทำให้พระองค์ได้รับพระสมัญญานามว่า “พระปิยมหาราช”
นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงมีพระปรีชาสามารถในด้านการประพันธ์อีกด้วย
พระองค์ได้ทรงนิพนธ์วรรณกรรมทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง
หนังสือที่พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้เป็นร้อยแก้ว แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท พระบรมราชาธิบาย พระบรมราโชวาท
จดหมายเหตุเสด็จประพาส
และที่ทรงพระราชนิพนธ์เป็นอย่างถ้อยคำของผู้อื่น และพระราชนิพนธฺประเภทร้อยกรองก็มีอยู่หลายเรื่องและหลายประเภท
ที่เด่นที่สุดประเภทบทละครนั้นได้แก่เรื่อง เงาะป่า
บทละครประเภทล้อเลียนได้แก่
วงศ์เทวราช ประเภทลิลิตนิทราราชาคริต เป็นต้น (ว่าที่ร้อยตรี
ณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ และวันเพ็ญ
เหลืองอรุณ,๒๕๖๒ : ๑๓๒ )
พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ.
๒๔๒๘
เป็นคำสั่งสอนตักเตือนพระเจ้าลูกยาเธอ
ซึ่งส่งไปศึกษาวิชาการต่างๆในทวีปยุโรปพร้อมกัน ๔ พระองค์
พระบรมราโชวาทนี้แม้จะทรงพระราชนิพนธ์พระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอเป็นการส่วนพระองค์ แต่ศิลปะการประพันธ์ที่โดดเด่น เนื้อหาความเป็นคำสอนที่มีความลึกซึ้งกินใจ เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทั่วไป จึงได้รับความนิยมอันเชิญมาพิมพ์เป็นแบบเรียนบ้าง เป็นหนังสืออ่านประกอบวิชาภาษาไทยบ้าง
รวมทั้งพิมพ์เผยแพร่แก่ผู้อ่านทั่วไปอยู่เป็นนิจ เนื่องจากอ่านเมื่อใดก็รู้สึกประทับใจเพราะเป็นคำสอนที่เหมาะแก่สังคมทุกยุคทุกสมัย
ซึ่งจากความในพระบรมราโชวาทที่ทรงย้ำอย่างยิ่งกับพระพระเจ้าลูกยาเธอทั้ง
๔ พระองค์
คือมิให้ถือพระองค์ว่าเป็นพระราชโอรสพระเจ้าแผ่นดินแล้วใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายเกินไปจนเป็นหนี้ ทรงเน้นเรื่องการประหยัดค่าใช้สอยในทุกด้าน และทรงย้ำให้ตระหนักว่า ค่าใช้จ่ายที่โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ไปทรงศึกษานั้นแม้จะเป็นพระราชทรัพย์ในส่วนที่เป็นเงินพระคลังข้างที่ แต่ก็เป็นเงินส่วนแผ่นดินที่ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายให้ทรงใช้สอยด้วยทรงเป็นผู้ทำนุบำรุงรักษาบ้านเมือง ดังความในพระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า
...เพราฉะนั้นจงจำไว้ตั้งใจอยู่ให้เสมอว่าตัวเป็นคนจน มีเงินเฉพาะแต่จะรักษาความสุขของตัวพอสมควรเท่านั้น ไม่มั่งมีเหมือนใครๆ อื่น
และไม่เหมือนกับผู้ดีฝรั่งเลย
ผู้ดีฝรั่งเค้ามั่งมีสืบตระกูลกันมา
ได้ดอกเบี้ยค่าเช่าต่างๆ
ตัวเองเป็นผู้ได้เงินจากราษฎรเลี้ยง
พอสมควรที่จะเลี้ยงตัวเองและรักษาเกียรติยศเทานั้น อย่าไปอวดมั่งอวดมีเทียบเทียมกับเขาให้ฟุ้งซ่านไปเป็นอันขาด
นอกจากนี้ยังมีเนื้อความที่เป็นการตักเตือนเกี่ยวกับวิชาที่พระเจ้าลูกยาเธอทรงศึกษาในชั้นต้น ได้แก่
ภาษาต่างประเทศ
และวิชาเลขต้องศึกษาให้แม่นยำชัดเจนคล่องแคล่ว และถึงแม้จะทรงศึกษาภาษาต่างประเทศแล้วก็ต้องศึกษาภาษาไทยพร้อมกันไปด้วย ดังข้อความในพระบรมราโชวาทว่า
…ต้องไปเรียนภาษาอื่นเพื่อที่จะได้เรียนวิชาให้กว้างขวางออก แล้วจะกลับมาใช้เป็นภาษาไทยทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้นจะทิ้งภาษาของตัวเองให้ลืมถ้อยคำที่จะพูดให้สมควรเสีย หรือจะลืมวิธีเขียนหนังสือไทยที่ตัวได้ฝึกหัดนั้นเสียแล้วนั้นไม่ได้เลย ถ้ารู้แต่ภาษาต่างประเทศ
ไม่รู้เขียนอ่านแปลลงเป็นภาษาไทยได้ก็ไม่เป็นประโยชน์อันใด ถ้าอย่างนั้นหาจ้าแต่งฝรั่งมาใช้เท่าไหร่ๆ ก็ได้
ที่ต้องการนั้นต้องให้กลับแปลภาษาต่างประเทศลงเป็นภาษาไทยได้ แปลภาษาไทยออกเป็นภาษาต่างประเทศได้ จึงจะนับว่าเป็นประโยชน์
อย่าตื่นตัวว่าได้ไปร่ำเรียนภาษาฝรั่งแล้วลืมภาษาไทย
(มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนสุดา,
๒๕๕๐ :
๓๐๒-๓๐๓ )
ศิลปะคำประพันธ์
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.
๒๕๓๐ ให้ความหมายคำว่า ศิลปะ ไว้ว่า
ผลแห่งความคิดสร้างสรรค์ ของมนุษย์ที่แสดงออกมาในรูปลักษณ์ต่าง ๆ ให้ปรากฏ
ซึ่งสุนทรียภาพ ความประทับใจ หรือความสะเทือนอารมณ์ ความอัจฉริยภาพ พุทธิปัญญา
ประสบการณ์ รสนิยม และทักษะของแต่ละคน เพื่อความพอใจ ความรื่นรมย์ ขนบธรรมเนียม
จารีตประเพณีหรือ ความเชื่อทางศาสนา
เรโอ ตอลสตอย (อ้างถึงใน พิทยะ ศรีวัฒนสาร, มปป : ออนไลน์) ได้ให้ความหมายของคำว่า ศิลปะ
ไว้ว่า ศิลปะ คือ การถ่ายทอดความรู้สึก
ศิลปะเป็นวิธีสื่อสารความรู้สึกระหว่างมนุษย์ด้วยกัน
จากที่กล่าวมาข้างต้น
คำว่า ศิลปะ หมายถึง
สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยความคิดสร้างสรรค์ที่แสดงออกมาในรูปลักษณ์ต่าง ๆ
เพื่อตอบสนองอารมณ์และประโยชน์ใช้สอย
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.
๒๕๕๔ ให้ความหมายของคำว่า
ประพันธ์ ไว้ว่า ก. แต่ง, เรียบเรียง,
ร้อยกรอง, ผูกถ้อยคำเป็นข้อความเชิงวรรณคดี
จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า ศิลปะการประพันธ์ หมายถึง การเรียงร้อยถ้อยคำที่เกิดจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์
ออกมาในรูแบบคำประพันธ์เชิงวรรณกรรมและวรรณคดี
เพื่อที่จะสื่อและสนองสนองอารมณ์ของผู้ที่ได้อ่าน
และในเนื้อความ ใช้คำว่า “จง...” ในประโยคที่เป็นคำเตือน ให้ความรู้สึกเหมือนพ่อแม่ที่ตามไปตักเตือนลูก
เช่น
“จงรู้สึกตัวเป็นนิจเถิด ว่าเกิดมาเป็นเจ้านายมียศบันดาศักดิ์มากจริงอยู่
แต่ไม่เป็นการจำเป็นเลยที่ผู้ใดเป็นเจ้าแผ่นดินขึ้น
จะต้องใช้ราชการอันเป็นช่องที่จะหาเกียรติยศชื่อเสียงแลทรัพย์สมบัติ...”
“...จงนึกไว้ให้เสมอว่าเงินทองที่แลเห็นมาก
ๆ ไม่ได้เป็นของหามาได้โดยง่ายเหมือนเวลาที่จ่ายไปง่ายนั้นเลย...”
ใช้ภาษาสั่งสอนที่คมคายกินใจ
โดยการใช้โวหารเปรียบเทียบที่รุนแรง เช่น
“...ถ้าจะถือว่าเกิดมาเป็นเจ้านายแล้วนิ่งๆ อยู่จนตลอดชีวิตก็เป็นสบายดังนั้น
จะไม่ผิดอันใดกับสัตว์ดิรัจฉานอย่างเลวนัก สัตว์ดิรัจฉานมันเกิดมากิน ๆ นอน ๆ
แล้วก็ตาย แต่สัตว์บางอย่างยังมีหนังมีเขามีกระดูกเป็นประโยชน์ได้บ้าง
แต่ถ้าคนประพฤติอย่างเช่นสัตว์ดิรัจฉานแล้ว
จะไม่มีประโยชน์อันใดยิ่งกว่าสัตว์ดิรัจฉานบางพวกไปอิก
เพราะฉะนั้นจงอุสาหะที่จะเรียนวิชาเข้ามาเป็นกำลังที่จะทำตัวให้ดีกว่าสัตว์ดิรัจฉานให้จงได้
จึงจะนับว่าเป็นการได้สนองคุณพ่อ ซึ่งได้คิดทำนุบำรุงเพื่อจะให้ดีตั้งแต่เกิดมา”
มีการใช้ภาพพจน์เปรียบเทียบเพื่อให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพที่ชัดเจน
เช่น
“...การที่มีพ่อเป็นเจ้าแผ่นดินนั้น
จะไม่เป็นการช่วยเหลืออุดหนุนแก้ไขอันใดได้เลย
อิกประการหนึ่งชีวิตสังขารของมนุษย์ไม่ยั่งยืนยืดยาวเหมือนเหล็กเหมือนศิลา
ถึงโดยว่าจะมีพ่ออยู่ในขณะหนึ่ง ก็คงจะมีเวลาที่ไม่มีได้ขณะหนึ่งเป็นแน่แท้
ถ้าประพฤติความชั่วเสียแต่ในเวลามีพ่ออยู่แล้ว
โดยจะปิดบังซ่อนเร้นอยู่ได้ด้วยอย่างหนึ่งอย่างใด เวลาไม่มีพ่อ
ความชั่วนั้นคงจะปรากฏเป็นโทษติดตัวเหมือนเงาตามหลังอยู่ไม่ขาด...”
อ้างอิงhttps://mpics.mgronline.com/pics/Images/559000005080401.JPEG
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น